ไฟไหม้บ้าน ประกันอัคคีภัยอย่างเดียวเพียงพอไหม?
ไฟไหม้บ้าน

ไฟไหม้บ้าน ประกันอัคคีภัยอย่างเดียวเพียงพอไหม?

ตอนนี้คงไม่มีอะไรเป็นข่าวที่ดังเกินไปกว่าไฟไหม้โรงงานที่กิ่งแก้ว แล้วครับเพราะนอกจากไหม้โรงงานบ้านเรือนรอบ ๆ ก็ได้รับผลกระทบจากความเสียหายแรงระเบิดของโรงงานไปด้วย ตอนนี้ผู้ที่ประสบภัยก็คง งง ๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง นี้ก็เป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่เราจะนำมาเป็นแนวทางในแง่ของการป้องกันความเสี่ยงที่นอกจากชีวิตแล้วเราก็ยังมีเรื่องของการเงินด้วยเพราะส่ิงที่ตามมาหลังเหตุการณ์สงบแล้วคือเราจำดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร

ไฟไหมบ้านใครรับผิดชอบ

เหตุการณ์แบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ความเสียหายที่ตามมานั้นค่อนข้างรุ่นแรง อย่างที่เคยมีคำพูดไว้ว่าโจรขึ้นบ้าน 10 ครั้งยังไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ซึ่งเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแน่นอนว่าต้องมีคนรับผิดชอบต่อการเสียหาย แต่ผมต้องออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่นักกฏหมายนะ แต่อันนี้สรุปมาให้ตามความเข้าใจที่ได้ศึกษามาครับ ซึ่งผมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. กรณีที่ไฟไหม้บ้านเราไม่ได้ลุกลามไปที่อื่น

ในส่วนนี้เบื้องต้นก็ต้องไปสือกันต่อว่าต้นต่อของการเกิดไฟไหมนั้นมาจากสาเหตุอะไร แต่เนื่องจากเหตุเกิดที่บ้านเราคนเดียว หากสื่อได้ว่าเป็นความประมาทที่เกิดขึ้นจากตัวเราเองก็ถือว่าเราต้องรับผิดชอบครับ แต่หากสืบได้ว่าต้นเหตุของเพลิงมาจากที่อื่นก็ต้องฟ้องร้องกันต่อ

2. ไฟไหม้บ้านลุกลามกระทบกับหลายหลัง

ในกรณีนี้คนที่เสียหายคงต้องฟ้องร้อง “บ้านต้นเพลิง” ให้รับผิดชอบครับ ส่วนบ้านต้นเพลิงจะไปสืบหาสาเหตุว่าการเกิดเพลิงไหม้นั้นมาจากแหล่งใดแล้วทำการฟ้องร้องต่อไป

แต่เอาเขาจริง ๆ ไฟไหม้แบบนี้บางคนก็เหมือนหมดตัวเลยครับ เรื่องการฟ้องร้องก็ต้องทำ แต่ถึงเราจะฟ้องร้องกันไปก็ไม่รู้ว่าจะได้รับค่าชดเชยเมื่อไร แต่บ้านเราต้องซ่อมเพื่อให้เข้าอยู่ได้เร็วที่สุด ซึ่งตรงนี้หากใครที่มีประกันบ้านที่เกี่ยวกับเรื่องของไฟไหม้ ก็อาจจะดีหน่อยตรงที่บริษัทประกันก็จะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคุณตามที่คุณได้ทำประกันไว้ แล้วทางบริษัทประกันก็จะไปทำเรื่องในการฟ้องร้องบ้านต้นเพลิง ในการเรียบกร้องค่าเสียหายต่อเอง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมรับมือก่อนการเกิดไฟไหม้คือสิ่งที่ควรทำที่สุดครับ

ส่วนจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ในซอยกิ่งแล้วนั้น ตอนนี้ทาง คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ก็ได้เข้ามาช่วยชี้แจ้งแนวทางการดำเนินการแล้วช่วยเหลือครับตามคลิปนี้เลยครับ


ประกันที่เกี่ยวกับไฟไหมบ้านมีอะไรบ้าง

ประกันบ้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไฟไหม้บ้าน จริง ๆ นอกจากประกันอัคคีภัยแล้วก็ยังมีประกันอื่นที่มาช่วยเสริมความคุ้มครองได้อีกด้วยนะครับผมจะยกมาเล่า 3 อย่าง คือ 

1. ประกันอัคคีภัย  

เป็นประกันภาคบังคับสำหรับคนที่กู้ซื้อบ้าน ส่วนคนที่ซื้อเงินสด หรือผ่อนหมดแล้วไม่ได้บังคับทำครับ เราต้องคอยหาข้อมูลประกันเองและทำการซื้อด้วยตัวเอง

โดยที่ประกันอัคคีภัยจะให้ความคุ้มครองโครงสร้างบ้านจากกรณีไม่คาดฝัน  เช่น ไฟไหม ฟ้าผ่า ภัยจากระเบิด หรือบางที่อาจรวมไปถึงภัยจากน้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ ครับ

โดยความคุ้มครองโครงสร้างบ้านในที่นี้จะหมายถึง โครงสร้างอันประกอบเป็นตัวบ้านบนที่ดินเคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น กำแพง ฝ่า ผนัง กระจก หลังคา ในส่วนของประกันอัคคีภัยนี้จะไม่รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งที่เรานำมาติดเพิ่มครับ

2. ประกันทรัพย์สินภายในบ้าน

เป็นประกันประเภทเดียวกับประกันอัคคีภัย แต่เป็นภาคสมัครใจ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ซึ่งให้ความคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินที่อยู่ภายในบ้านของเราครับ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ วอร์เปเปอร์ ฯลฯ ที่เกิดความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคล้ายๆ กับระกันอัคคีภัยเลยครับ

ซึ่งหากเรามีประกันอัคคีภัยเพียงอย่างเดียวในกรณีที่มีไฟไหม้บ้าน ของใช้ภายในบ้านต่าง ๆ เราต้องเป็นคนซื้อเข้ามาใหม่เอง แต่ถ้าเราทำประกันทรัพย์สินภายในบ้านร่วมด้วย เราจะได้ความรับผิดชอบของใช้ภายในบ้านด้วยตามกรรมธรรม์ที่เราได้ทำไว้ หากใครอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมลองเข้าไปอ่านได้ที่บทความนี้ครับ ประกันทรัพย์สินภายในบ้านคืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันบ้าน

ดูข้อมูลความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ : ประกันทรัพย์สินภายในบ้าน

นอกความคุ้มครองข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านแล้วข้อมูลจากในตารางด้านบนเราจะเห็นได้ว่า ประอัคคีภัยและประกันทรัพย์สินภายในบ้านบ้างที่ยังให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมเช่นเรื่องของค่าที่พักช่วงคราว ในกรณีที่เราต้องไปพักที่อื่นก่อน หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดับเพลิงครับ 

ซึ่งอย่างในภาพตัวอย่างเขาจะรับผิดชอบในส่วนของค่าเช่าที่พักของเราด้วย วันละไม่เกิน 1,500 บาท เบิกได้ตามจริง (หากมีส่วนเกินเราจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง) ซึ่งให้สูงสุด 30 วันครับ เราก็จะคลายความกังวลในเรื่องที่พักไปได้อย่างน้อยจุดหนึ่ง ให้เราพอมีสติตั้งตัวว่าจะต้องไปทำอะไรต่อไปครับ

ซึ่งเบี้ยประกันใน 2 ส่วนแรกที่เล่ามานี้จะราคาไม่สูงมากครับ อย่างอัคคีภัยก็อยู่ประมาณหลักพันบ้าน (ขึ้นอยู่กับมูลค่าบ้าน) ส่วนประกันทรัพย์สินภายในบ้านก็อยู่ปีละประมาณ 800 บาท 

3. ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน

ประกันอีกตัวหนึ่งที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินเชื่อก็คือ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ ประกัน MRTA อันนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของไฟไหม้โดยตรงนะครับ แต่เป็นประกันบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองชีวิตของผู้ที่ทำไว้ โดยที่หากผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือทุพลภาพถาวร ทางบริษัทประกันก็จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อให้ตามที่เราได้ทำประกันไว้ครับ

แต่ประกัน MRTA นี้อาจจะมีราคาสูงอยู่สักนิดหนึ่งราคาก็จะหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับราคาของบ้านครับ ซึ่งประกันตัวนี้ก็สามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยหากเราซื้อความคุ้มครองแบบ 10 ปีขึ้นไป ถ้าใครที่มีคนข้างหลังต้องดูแล และมีกำลังทรัพย์มากพอไม่ทำให้ลำบาก การพิจารณาที่จะทำไว้ก็ไม่เสียหายครับช่วยลดความเสี่ยงในชีวิตเราได้ครับ แต่ก็มีบางบริษัทประกันทำประกันเพื่อประชาชนที่ค่าเบี้ยจะราคาถูกหน่อยครับ ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ประกัน MRTA

ถ้าไฟไหม้บ้านมีประกันอัคคีภัยอย่างเดียวเพียงพอไหม

สำหรับเรื่องนี้ต้องแล้วแต่บุคคลเลยครับโดยลองดูความเหมาะสมว่าเราควรเลือกทำประกันอะไรบ้างจาก 3 ประกันด้านบนก็ได้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น คุณมีบ้าน 1 หลัง คอนโด 1 ห้อง ตัวบ้านอาจจะอยู่กับครอบครับ ข้าวของเครื่องใช้ครบ ก็อาจจะทำทั้งประกันอัคคีภัยและประกันทรัพย์สิน ส่วนคอนโดเอาไว้ใช้ช่วงวันทำงานในห้องอาจจะไม่ได้มีอะไรสำคัญเยอะ มีแค่โต๊ะ ตู้ เตียง ซึ่งไม่ได้มีมูลค่าสูงก็อาจจะไม่ต้องทำประกันทรัพย์สินภายในบ้าน

แต่อย่างตัวผมอเองอยู่คอนโดเป็นหลักอุปกรณ์ครบครัน แล้วเห็นห้องอื่น ๆ เจอเหตุการณ์พวกผนังร้าวฝนตกน้ำซึม wallpaper พังกัน ผมเองแม้ว่าจะยังไม่ได้เจอเหตุการณ์แบบห้องอื่นแต่ก็กลัวเลยลดความเสี่ยงด้วยการทำประกันทรัพย์สินภายในบ้านไว้ด้วยเพราะค่าใช้จ่ายต่อปีก็ถือว่าไม่สูงมาก 800 กว่าบาทผมเองพอที่จะรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้

และที่สำคัญที่สุดคือดูเงินในกระเป๋าของเราด้วยครับ เอาที่เราทำไหวครับ ไม่ใช่ทำแล้วเป็นหนี้สิน มีปัญหาทางการเงินตามมาอาจ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมรับมือก่อนที่จะเกิดไฟไหม้บ้านในแง่ของด้านการเงินนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และนำไปใช้กับสถานการณ์ในตอนนี้ครับ สำหรับวันนี้ Refinn ลาไปก่อนแล้วผมจะมาอัพเดตความรู้ใหม่ๆ ในครั้งต่อไปครับ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 07 ก.ค. 2564
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม