รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี 2568 เปรียบเทียบเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ย
หากคุณกำลังผ่อนบ้านกับโครงการต่าง ๆ อยู่ แล้วรู้สึกว่า “ดอกเบี้ยมันสูงจัง” หรือ “ค่างวดต่อเดือนเริ่มหนักเกินไป” การรีไฟแนนซ์บ้าน หรือคอนโด จัดว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยให้คุณลดภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนลงได้ เพราะจะได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่าไม่ว่าจะเป็นธนาคารเดิม หรือธนาคารใหม่ก็ตาม
และในบทความนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบว่าเงื่อนไขการ รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดีสุด โดยนำเสนอการเปรียบเทียบข้อมูลและอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี แบบที่ไม่ต้องไปค้นหาข้อมูลตามแหล่งต่าง ๆ ให้เสียเวลา
รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร?
รีไฟแนนซ์บ้าน คือ การย้ายหนี้กู้บ้านจากธนาคารเดิมไปยังธนาคารใหม่ (หรือธนาคารเดิมแต่เปลี่ยนเงื่อนไข) เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ช่วยให้การผ่อนชำระต่อเดือนเหมาะสมกับสถานการณ์การเงินในปัจจุบัน ซึ่งคำถามยอดฮิตที่หลายคนค้นหากันบ่อยก็คือจะเลือก Refinance บ้านธนาคารไหนดี
หรือ จะเลือกรีไฟแนนซ์คอนโดธนาคารไหนดี ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจการคิดดอกเบี้ยของธนาคารในการรีไฟแนนซ์ ว่ามีอะไรบ้าง โดยทางธนาคารต่าง ๆ ได้แบ่งอัตราดอกเบี้ยออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ดังนี้
- การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่
คือ ดอกเบี้ยที่ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น 3 ปีแรก จ่ายดอกเบี้ยเท่ากันทุกงวด รูปแบบนี้เหมาะกับคนที่ต้องการความมั่นใจในการวางแผนเรื่องค่าใช้จ่าย
- การคิดดอกเบี้ยแบบลอยตัว
คือ ดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงได้ตามทิศทางตลาด เช่น MRR หรือ MLR ซึ่งอาจต่ำลงหรือสูงขึ้นได้ในอนาคต จะเหมาะกับคนที่เชื่อว่าดอกเบี้ยจะลดลง หรือยอมรับความผันผวนได้
รีไฟแนนซ์กับรีเทนชั่น แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน?
เชื่อว่าหลายคนอาจยังสับสนระหว่างการ “รีไฟแนนซ์” กับ “รีเทนชั่น” ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างนี้มีเป้าหมายคล้ายกัน คือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน แต่จะมีความแตกต่างกันในวิธีดำเนินการ โดยการรีไฟแนนซ์ (Refinance) จะเป็นการย้ายสินเชื่อบ้านจากธนาคารเดิม ไปยังธนาคารใหม่ที่ให้ข้อเสนอหรือดอกเบี้ยที่ดีกว่า
ในขณะที่การรีเทนชั่น (Retention) คือการเจรจากับธนาคารเดิมเพื่อขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข เช่น ลดดอกเบี้ยต่อจากช่วงโปรโมชั่น หรือโปะบ้าน โดยไม่ต้องย้ายธนาคาร ไม่มีการเสียค่าดำเนินการ รวมถึงไม่มีค่าธรรมเนียมที่เกิดจากค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน
ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านของแต่ละธนาคาร
สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจว่าจะเลือก รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี หรืออยากรู้ว่า รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนง่ายสุด พร้อมเพิ่มวงเงินไปในตัว เราได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในช่วง 3 ปี มาให้พิจารณาตามตารางด้านล่างนี้ เพื่อให้คุณสามารถเปรียบเทียบเงื่อนไขและตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินธนาคารไหนดี รวมถึงช่วยให้การตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น
รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหน ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุด
อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระดอกเบี้ยและปรับปรุงเงื่อนไขการกู้เงินระยะสั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเงินของคุณมากที่สุด ซึ่งในปี 2568 หลายธนาคารได้เสนออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกที่น่าสนใจ พร้อมเงื่อนไขที่แตกต่างกัน หากคุณกำลังหาข้อมูลสินเชื่อบ้านแลกเงิน เพื่อตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารไหนดี นั้นก็นำข้อมูลจากธนาคารต่าง ๆ เหล่านี้ไปพิจารณากันได้เลย
1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri)
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านของกรุงศรี มีจุดเด่นที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นต่ำ เหมาะสำหรับวงเงิน 1-1.5 ล้านบาท โดยในปีแรกดอกเบี้ยคงที่ 1.88% ปีที่ 2 MRR -4.40% / ปีที่ 3 MRR -2.58% หลังจากนั้น MRR -1.50% วงเงินกู้ สูงสุด 95% ของราคาประเมิน
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
Refinance บ้านที่ให้ดอกเบี้ยปีแรก 1.49% ปีที่ 2-3 MRR -2.39% ปีที่ 4เป็นต้นไป MRR -1.55% วงเงินกู้สูงสุด 100% สำหรับบ้านหลังแรกไม่เกิน 10 ล้านบาท ผ่อนชำระสูงสุด 30 ปี
3. ธนาคารออมสิน (GSB)
สินเชื่อเคหะรีไฟแนนซ์และกู้เพิ่มเติมจากธนาคารออมสิน เหมาะกับผู้ที่ต้องการดอกเบี้ยแบบลอยตัว และมีทางเลือกในการทำหรือไม่ทำประกันชีวิต โดยมีดอกเบี้ยแบบลอยตัวตาม MRR ซึ่งถ้าทำประกันชีวิต MRR -1.80% (ปี 1-3) จากนั้นปีที่ 4 = MRR -0.75% แต่ถ้าไม่ทำประกันชีวิต MRR -1.30% (ปี 1-3) ปีที่ 4 = MRR -0.25% วงเงินกู้สูงสุด 110% ของราคาประเมิน ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี
4. ธนาคารกสิกรไทย (KBank)
รีไฟแนนซ์บ้าน กสิกร เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดนิยม เพราะเสนอเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น เหมาะกับคนที่มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป โดยในปีแรกดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2-3 MRR -3.24% ปีที่ 4 MRR -1.75% วงเงินกู้สูงสุด 100% ผ่อนนานสูงสุด 30 ปี เหมาะกับคนที่ต้องการรีไฟแนนซ์พร้อมกู้เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงบ้านหรือรวมหนี้ไว้ในที่เดียว
5. ธนาคารกรุงไทย (KTB)
กรุงไทย รีไฟแนนซ์ เปิดโปรแรงสำหรับผู้กู้ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ พร้อมดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1.99% ในปีแรก ปีที่ 2-3 อยู่ที่ 4.38% (กู้ < 3 ล้าน) / 3.60% และ 4.49% (กู้ ≥ 3 ล้าน) จากปี 4 เป็นต้นไป ลอยตัว MLR -0.90% วงเงินกู้สูงสุด 100% (หากหลักประกัน < 10 ล้าน)
6. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB)
สินเชื่อ GHB Precious 2568 เป็นสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่ 70,000 บาทขึ้นไป โดยเน้นอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงปีแรก เพียง 1.79% ปีที่ 2 คงที่ 2.80% และปีที่ 3 อยู่ที่ 3.50% จากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไป จะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวตาม MRR เช่น MRR-1.00% วงเงินกู้ ตามมูลค่าหลักประกัน
7. ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb)
ลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนกับ ttb จะได้รับข้อเสนอรีไฟแนนซ์สุดคุ้ม พร้อมสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้
- ดอกเบี้ยคงที่ 3.15% ต่อปี (1-3 ปีแรก) จากนั้นเป็นลอยตัว MRR -1.78%
- วงเงินกู้สูงสุด 100% หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท ผ่อนสูงสุด 35 ปี
- ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมิน
8. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ธนาคารกรุงเทพเสนอโปรแกรมรีไฟแนนซ์ที่ผสมผสานความคงที่และความยืดหยุ่นในด้านอัตราดอกเบี้ย พร้อมฟรีค่าประเมิน โดยปีแรกดอกเบี้ย 2.75% ปีที่ 2-3 MRR -3.10% ปีที่ 4 MRR -1.50% วงเงินกู้ ไม่เกิน 100% ของภาระหนี้ ผ่อนนานสูงสุด 30 ปี เหมาะกับผู้ที่มีภาระหนี้เดิมไม่สูงมาก และต้องการลดดอกเบี้ย
9. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH Bank)
สินเชื่อรีไฟแนนซ์ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก เริ่มต้น 1.59% มีให้เลือกทั้งการทำและไม่ทำประกัน ซึ่งถ้าหากทำประกันจะได้รับสิทธิ์ฟรีค่าจดจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 อยู่ที่ 3.15% MRR-3.01% แต่ถ้าไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1 อยู่ที่ 1.59% ปีที่ 2-3 อยู่ที่ 3.63% MRR-3.01%
ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance)
การยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี ไม่ใช่เพียงแค่การย้ายหนี้จากธนาคารเดิมไปยังธนาคารใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญในการปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะกับสภาพการเงินของเราในช่วงเวลานั้น ๆ อีกด้วย ซึ่งข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านมีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น
- ลดภาระดอกเบี้ย : เมื่อดอกเบี้ยบ้านในตลาดลดลง การรีไฟแนนซ์สามารถช่วยให้คุณจ่ายดอกเบี้ยน้อยลงได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกที่หลายธนาคารมีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยต่ำ
- ลดค่างวดรายเดือน : การรีไฟแนนซ์ช่วยลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละเดือนลง ทำให้มีสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มขึ้น
- ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ : ธนาคารใหม่อาจให้เงื่อนไขระยะเวลาผ่อนที่นานขึ้น ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้
- เพิ่มวงเงินกู้ : บางกรณีคุณสามารถรีไฟแนนซ์พร้อมขอวงเงินเพิ่ม เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงบ้าน หรือรวมภาระหนี้อื่น ๆ เข้ามาไว้ในสินเชื่อบ้านที่เดียว
- โอกาสบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ : โดยเฉพาะในกรณีที่ดอกเบี้ยของธนาคารเดิมสูงกว่าตลาด การรีไฟแนนซ์จะช่วยให้จัดการหนี้ได้ดีขึ้นในระยะยาว
ขั้นตอนในการรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อขอลดดอกเบี้ยบ้าน
หลังจากที่รู้ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านกันไปแล้ว ว่าเป็นทางเลือกที่ทำให้เจ้าของบ้านลดภาระดอกเบี้ยหรือค่างวดรายเดือน ซึ่งช่วยประหยัดเงินได้หลายแสนบาทในระยะยาว คราวนี้ตามเรามาดูกันว่า หากสนใจที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องดำเนินการอย่างไร
- ตรวจสอบข้อมูลสินเชื่อบ้านเดิม : เริ่มจากดูข้อมูลสินเชื่อบ้านปัจจุบัน เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่างวดที่ชำระ ระยะเวลาที่เหลือ ค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมหากปิดสินเชื่อก่อนกำหนด การรู้ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เปรียบเทียบข้อเสนอใหม่ได้ชัดเจนขึ้น
- เปรียบเทียบว่า อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดีสุด : โดยเลือกธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในช่วง 3 ปีแรก และมีเงื่อนไขเหมาะสม เช่น ฟรีค่าธรรมเนียม หรือค่าประเมินหลักประกัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่คุ้มค่า
- เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน โดยทั่วไปธนาคารจะขอเอกสารดังนี้
สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน, สัญญากู้จากธนาคารเดิม, เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน/รายการเดินบัญชี, สำเนาโฉนดที่ดินหรือบ้าน
- ยื่นคำขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ : เมื่อตัดสินใจเลือกธนาคารแล้ว ก็สามารถยื่นคำขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ได้ทันที พร้อมแนบเอกสารที่เตรียมไว้
- รอการอนุมัติและนัดโอนสินเชื่อ : หากผ่านการอนุมัติ ธนาคารใหม่จะนัดวันไปทำสัญญา และดำเนินการชำระหนี้ให้กับธนาคารเดิม รวมถึงจดจำนองใหม่กับกรมที่ดิน
- เริ่มผ่อนกับธนาคารใหม่ : หลังจากโอนสินเชื่อเสร็จสิ้น คุณจะเริ่มผ่อนชำระกับธนาคารใหม่ตามเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงไว้
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการรีไฟแนนซ์บ้าน
ก่อนจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี เจ้าของบ้านควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เพื่อให้การรีไฟแนนซ์เป็นไปอย่างคุ้มค่า และไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น โดยมีสิ่งสำคัญที่ควรรู้ดังนี้
- เช็กเงื่อนไขของธนาคารเดิม
บางธนาคารมีการกำหนด "ค่าปรับ" หากปิดบัญชีสินเชื่อก่อนกำหนด เช่น ปรับ 2–3% ของยอดคงค้าง หรือกำหนดให้รีไฟแนนซ์ได้หลังจากกู้มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี หากรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด อาจเสียค่าปรับสูงจนไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่ลดลง
- เปรียบเทียบดอกเบี้ยให้ละเอียด
รีไฟแนนซ์กับธนาคารไหนดี อย่าดูแค่ปีแรก แต่ควรเปรียบเทียบ "อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี" หรือ “ตลอดอายุสัญญา” เพื่อคำนวณความคุ้มค่าในระยะยาว
- ตรวจสอบความพร้อมของรายได้และเครดิต
ธนาคารใหม่จะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากเอกสารรายได้และเครดิตบูโร หากมีหนี้เสียหรือประวัติค้างชำระ อาจถูกปฏิเสธการรีไฟแนนซ์
- เตรียมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
การรีไฟแนนซ์อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจดจำนองใหม่ (1% ของวงเงินกู้ใหม่) ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ (ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท) ค่าธรรมเนียมธนาคาร เช่น ค่าดำเนินการ ค่าตรวจสอบเครดิต ค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเดิม ค่าอากรแสตมป์ (0.05% ของวงเงินกู้) ดังนั้นควรสอบถามให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ
- คิดให้รอบคอบระหว่างรีไฟแนนซ์กับรีเทนชั่น
บางครั้งการเจรจากับธนาคารเดิมเพื่อ "รีเทนชั่น" หรือต่อรองดอกเบี้ยใหม่ อาจสะดวกและประหยัดกว่าการรีไฟแนนซ์ ดังนั้นควรคำนวณให้แน่ชัดว่า การย้ายไปธนาคารใหม่จะได้รับความคุ้มค่ามากกว่าการอยู่กับธนาคารเดิม
สรุป
การรีไฟแนนซ์บ้านช่วยลดภาระทางการเงินของเจ้าของบ้านลงไปได้มาก ซึ่งถ้าหากในตอนนี้คุณยังไม่รู้ว่าจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารไหนดี เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย ลดค่างวดรายเดือน หรือเพิ่มสภาพคล่องให้กับชีวิตประจำวัน เราขอแนะนำให้เปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละธนาคารอย่างรอบด้าน แต่ถ้าหากคุณยังไม่รู้ว่าจะเลือกรีไฟแนนซ์ธนาคารไหนดี หรือไม่อยากเสียเวลาติดต่อหลายธนาคารให้ยุ่งยาก ทาง Refinn พร้อมให้บริการ
โดยการนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบจากธนาคารชั้นนำทุกแห่งไว้ครบในที่เดียว ทางเราให้บริการฟรี มีข้อมูลเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยอัปเดตล่าสุด รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแบบเป็นกันเอง ไม่ว่าคุณจะต้องการข้อมูล Refinance ธนาคารไหนดี แค่เพียงคลิกเข้าไปที่ www.refinn.com ก็เริ่มต้นรีไฟแนนซ์บ้านกับเรากันได้ทุกเวลา