รีไฟแนนซ์บ้านช้าไป 1 วัน โดนดอกเบี้ยไปกี่บาท อัพเดตปี 2566
ดอกเบี้ยบ้าน

รีไฟแนนซ์บ้านช้าไป 1 วัน โดนดอกเบี้ยไปกี่บาท Update ปี 2566

เงินเดือนหรือเงินทอน ประโยคนี้ฟังอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ทำใจให้ชินไม่ได้สักที ทั้ง ๆ เงินเดือนก็ไม่ได้น้อย หลายท่านคงเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ใช่ไหมครับครับ ผมเองก็เป็นหนึ่งคนที่เป็นแบบนั้น รวมถึงจากที่มีคนคอยทักเข้ามาพูดคุยกันในเพจ Refinn ก็เป็นเช่นกัน พอมันมาเป็นเหตุการณ์แบบนี้ก็จะกระทบกับสภาพคล่องทางการเงินขอเราทั้งหมด บางคนดีหน่อยอาจจะพอใช้เหลือเก็บแต่ก็อยากมีเก็บให้เยอะคน บางคนมีพอใช้เดือนชนเดือน บางท่านหนักหน่อยก็มีภาระหนี้จนเงินเดือนนั้นเหลือน้อย ไปจนถึงไม่พอใช้จนต้องขอหยิบยืม กู้เงินมาใช้กันนั้น 

อยากมีเงินเหลือใช้เพิ่มแต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรดี

ที่นี้หากเราต้องการเก็บเงินให้เยอะขึ้น หรือทำให้เงินเดือนพอใช้เราก็คงจะเริ่มจากการหางานเสริมทำเพื่อเพิ่มรายได้ เช่นเดียวกันผมก็เคยเป็นแบบนี้มาก่อน จนผมได้มาศึกษาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ มากขึ้น จนเห็นจุดที่เป็นปัญหาว่าเงินของผม หมดไปกับดอกเบี้ยบ้านเยอะมาก ถามว่าเยอะมากขนาดไหนมาลองดูกันครับ

ผมกู้ซื้อบ้านที่ต่างจังหวัดราคา 1.9 ล้านบาท โดนดอกเบี้ย 6.25% ต่อปี ในหนึ่งเดือนผมต้องเสียดอกเบี้ยประมาณ 9,760 บาท

ดอกเบี้ยบ้าน = (ยอดหนี้บ้านคงเหลือ x จำนวนวันตามรอบ x ดอกเบี้ย) ÷ วันทั้งปี
ดอกเบี้ยบ้าน = (1,900,000 x 30 x 6.25%) ÷ 365
ดอกเบี้ยบ้าน = 9,760 บาท

และนี้เป็นเพียงแค่ดอกเบี้ยนะครับหากรวมเงินต้นผมก็จะจ่ายค่าบ้านต่อเดือนประมาณ 14,000 บาท ไปอีก 30 ปี ลองคิดดูนะครับว่าถ้าผมเงินเดือนสัก 30,000 บาท ผมจะเหลือเงินใช้ 16,000 บาท แล้วไหนจะค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกก็ไม่แปลกที่เงินจะเดือนชนเดือน หรือถ้าเก็บเงินก็คงตอเดือนไม่กี่บาท

แต่หลานท่านก็คงคิดว่า ก็ถูกแล้วกู้เงินมาเราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเขา แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือ จริงๆ มีเทคนิคบางอย่างที่เราสามารถลดดอกเบี้ยบ้านลงได้กว่าครึ่งหนึ่ง คิดง่ายๆ จาก 6.25% ลดเหลือ 3.2% ผมก็ประหยัดเงินไปได้จาก 9,760 เหลือ 4,480 บาทต่อเดือน ลองคิดตามกันดูง่าย ๆ นะครับ

  • ถ้าผมยังคงจ่าย 14,000 บาทเท่าเดิม แต่ดอกเบี้ยลดลงครึ่งหนึ่ง แน่นอนว่าระยะเวลาการผ่อนบ้านจาก 30 ปี ผมก็อาจจะเหลือแค่ 20 ปี เพราะว่าเงินที่ผ่อนไปกลายเป็นเงินต้นเยอะขึ้น
  • ถ้าผมเลือกเป็นขอลดยอดผ่อน เพราะดอกเบี้ยลดลงแล้ว ยอดผ่อนต่อเดือนผมก็อาจจผ่อนน้อยลงตาม ผมก็อาจจะเหลือเงินใช้ ต่อเดือนเพิ่มขึ้น โดยพี่ผมยังไม่ต้องทำงานใดๆ เพิ่มเลยครับ 

ทีนี้ก่อนจะไปดูว่าแล้วเราจะทำยังไงให้สามารถลดดอกเบี้ยบ้านได้ เรามาลองดูก่อนว่ายอดหนี้บ้านที่คุณมีอยู่นั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละเท่าไร ซึ่งอันนี้ผมอัพเดตของปี 2566 ผมได้คำนวณมาให้แล้วไปดูกันเลยครับ

ดอกเบี้ยบ้านเท่านี้ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไร

ดอกเบี้ยบ้าน 6% ต่อปี

ลดดอกเบี้ยบ้าน

ใครที่ได้ดอกเบี้ยบ้านตั้งแต่ 6% ขึ้นไป คุณคือคนที่ควรจะต้องรีไฟแนนซ์บ้านอย่างที่สุดครับ เพราะดอกเบี้ยที่คุณจ่ายอยู่นั้นถือว่าสูงมาก ๆ ถ้าในปัจจุบันดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วก็ควรจะอยู่ประมาณ 2.5% - 3% นั้นหมายความว่าคุณสามารลดดอกเบี้ยลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่งเลยครับ ถ้าคุณมียอดหนี้บ้าน 7 ล้าน จากที่คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 3 หมื่น ก็อาจจะเหลือจ่ายเพียงแค่เดือนละ หมื่นห้า เท่านั้น ดอกเบี้ยที่ลดไปนี้เท่ากับเงินเดือนที่เด็กจบใหม่ใช้ได้ทั้งเดือนเลยนะครับ ซึ่งแน่นอนว่าเราเอาไปทำอย่างอื่นได้อีกหลายอย่างเลย

  • ยอดหนี้ 7 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 34,521 บาท
  • ยอดหนี้ 6 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 29,589 บาท
  • ยอดหนี้ 5 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 24,658 บาท
  • ยอดหนี้ 4 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 19,726 บาท
  • ยอดหนี้ 3 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 14,795 บาท
  • ยอดหนี้ 2 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 9,863 บาท


ดอกเบี้ยบ้าน 5% ต่อปี

รีไฟแนนซ์บ้าน

หากเราได้รับดอกเบี้ยระหว่าง 5% - 5.99% คุณก็ยังเป็นคนที่ควรจะทำการลดดอกเบี้ยบ้านด้วยการรีไฟแนนซ์บ้าน อยู่เเช่นกันครับเพราะยังจัดอยู่ในกลุ่มที่โดดดอกเบี้ยสูงครับ

  • ยอดหนี้ 7 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 24,658 บาท
  • ยอดหนี้ 6 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 20,548 บาท
  • ยอดหนี้ 5 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 16,438 บาท
  • ยอดหนี้ 4 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 12,329 บาท
  • ยอดหนี้ 3 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 8,219 บาท
  • ยอดหนี้ 2 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 6,164 บาท

เช็คโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้าน 2566 จากธนาคารชั้นนำ : www.refinn.com

ดอกเบี้ยบ้าน 4% ต่อปี

 Refinance บ้าน

ดอกเบี้ยบ้าน 4% - 4.99% อันนี้ถือว่าไม่สูงมากครับ กลาง ๆ แต่สำหรับผมก็ยังมองว่าเรายังสามารถลดดอกเบี้ยลงได้อีกจาก 4% เป็น 2.35% - 3% ซึ่งก็อาจจะช่วยประหยัดเงินไปได้อีกเกือบครึ่งหนึ่งเลยครับ

  • ยอดหนี้ 7 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 19,726 บาท
  • ยอดหนี้ 6 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 16,438 บาท
  • ยอดหนี้ 5 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 13,151 บาท
  • ยอดหนี้ 4 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 9,863 บาท
  • ยอดหนี้ 3 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 6,575 บาท
  • ยอดหนี้ 2 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 4,932 บาท

เช็คโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้าน 2566 จากธนาคารชั้นนำ : www.refinn.com

ดอกเบี้ยบ้าน 3% ต่อปี

คำนวณดอกเบี้ยบ้าน

ในคนกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มครับ กลุ่มแรก ดอกเบี้ย 3.3% - 3.99% ควรมองหาธนาคารเพื่อ Refinance บ้านครับ แม้ว่าดอกเบี้ยอาจจะลดลงไม่ได้เท่ากับคนที่โดนดอกเบี้ย 6% แต่ว่าถ้ารวมที่เราจะต้องผ่อนต่อไปก็ประหยัดได้หลักแสนอยู่เหมือนกัน

ส่วนใครที่ได้ดอกเบี้ยตั้งต่ำว่า 3.3% ก็อาจจะต้องคำนวณดี ๆ หากโปรโมชั่น Refinance บ้านที่คุณได้ให้ดอกเบี้ยสัก 2.35% - 2.9% ก็อาจจะยังคุ้มอยู่ครับ แต่ถ้าได้สัก 3.1% ขึ้นไปก็อาจจะไม่คุ้มแล้วยกเว้นธนาคารที่ใหม่จะให้คุณฟรีพวกค่าใช้จ่ายในการดำเนินเรื่อง อย่างค่าจดจำนอง ค่าอากรสแตมป์ ค่าประเมินหลักทรัพย์ครับ หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือประหยัดได้ไม่เท่าไรแต่เบื่อธนาคารเดิม ต้องการคุณภาพบริการที่ดีขึ้นแบบนี้ก็ได้เช่นกันครับ

  • ยอดหนี้ 7 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 14,795 บาท
  • ยอดหนี้ 6 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 12,329 บาท
  • ยอดหนี้ 5 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 9,863 บาท
  • ยอดหนี้ 4 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 7,397 บาท
  • ยอดหนี้ 3 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 4,932 บาท
  • ยอดหนี้ 2 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 3,699 บาท

ดอกเบี้ยบ้าน 1% - 2% ต่อปี

บอกเลยว่าถ้าใครที่ครบสัญญารีไฟแนนซ์บ้านแล้วยังได้ดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 1% - 2% ถือว่าคุณสุดยอดมาเลย อัตราดอกเบี้ยเท่านี้คุณไม่จำเป็นต้องทำการขอลดดอกเบี้ยบ้าน Refinance บ้าน เลยครับ ขยับขึ้นมาสัก 3% เมื่อไรแล้วค่อยทำเรื่องก็ได้ แต่ต้องคอยหมั่นคอยเช็คดอกเบี้ยตลอดนะครับ โดยปกติแล้วคนที่จะได้ดอกเบี้ยประมาณนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดอกเบี้ยก่อนครบสัญญา 3 ปี ที่ห้ามย้ายธนาคาร ทางที่ดีเราควรเช็คว่าเราจะได้รับดอกเบี้ยเท่านี้ไปถึงเมื่อไร และเราควรยื่นเรื่อง Refinance บ้านก่อน 1-2 เดือนครับ

รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี

  • ยอดหนี้ 7 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 11,507 บาท
  • ยอดหนี้ 6 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 9,863 บาท
  • ยอดหนี้ 5 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 8,219 บาท
  • ยอดหนี้ 4 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 6,575 บาท
  • ยอดหนี้ 3 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 4,932 บาท
  • ยอดหนี้ 2 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 3,288 บาท


ผ่อนบ้าน

  • ยอดหนี้ 7 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 5,753 บาท
  • ยอดหนี้ 6 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 4,932 บาท
  • ยอดหนี้ 5 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 4,110 บาท
  • ยอดหนี้ 4 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 3,288 บาท
  • ยอดหนี้ 3 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 2,466 บาท
  • ยอดหนี้ 2 ล้านบ้าน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 1,644 บาท

ในกรณีนี้ผมแนะนำเป็น Refinn Alert : เป็นระบบช่วยแจ้งเตื่อนเมื่อต้องทำเรื่องรีไฟแนนซ์ครับ เป็นระบบใหม่ใช้บริการฟรี จากทาง Refinn เข้าไปกรอกข้อมูลนิดเดียวก็ช่วยเรากันเลืมได้เลยเรื่องนี้ได้เลยครับ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ Refinn Alert

ลดดอกเบี้ยด้วยการรีไฟแนนซ์บ้าน

พอเราได้เห็นดอกเบี้ยกันแล้วเราก็คงอยากจะลดดอกเบี้ยบ้านกันแล้วใช่ไหมละครับ เพราะมันจะช่วยทำให้เรามีเงินกลับมาเป็นจำนวนที่เยอะมาก แต่เราจะลดดอกเบี้ยบ้านได้อย่างไรละ คำตอบก็คือ การรีไฟแนนซ์บ้าน ครับ 

การรีไฟแนนซ์หลายคนอาจคิดว่ามันสำหรับคนที่ไม่มีตังมีปัญหาทางด้านการเงินหรือเปล่า บอกเลยนะครับว่าไม่ใช่ คนที่จะรีไฟแนนซ์บ้านได้จะต้องมีความสามารถในการผ่อนบ้าน ไม่มีประวัติทางการเงินที่เสียเลยในช่วง 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา วิธีการนี้เป็นเทคนิคทางการเงินที่ใช้ในการลดดอกเบี้ยได้ดีมาก 

โดยปกติเราจะทำการรีไฟแนนซ์บ้านได้ทุก 3 ปี โดยเราสามารถลองเข้าไปเปรียบเทียบโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้านได้ที่ รีไฟแนนซ์ ที่เว็บ Refinn นี้นอกจากจะรวมโปรโมชั่นแล้ว ยังคำนวณยอดประหยัดไว้ให้ด้วยเลย และบางโปรโมชั่นมีเฉพาะที่ Refinn เท่านั้นด้วยครับ ซึ่งตรงนี้ใช้บริการฟรีทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายเลยครับ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 04 เม.ย. 2565
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม