ลดดอกเบี้ยบ้านอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด (+ แจก Excel คำนวณดอกเบี้ยบ้าน)
หลังจากที่รู้ว่า รีไฟแนนซ์ ทำตอนไหนถึงคุ้ม? ที่จะช่วยให้ประหยัดเงินจากดอกเบี้ยที่ลดลงได้เป็นล้าน และประหยัดเวลาในการผ่อนได้อีกหลายปี แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ก็คือ ไม่ใช่ทุกธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ยที่เท่ากัน หนังแต่ละธนาคารก็ยังมีอัตราดอกเบี้ยหลายรูปแบบให้เลือกอีกด้วย
แน่นอนว่าถ้าเราไปรวบรวมโปรโมชั่นจากธนาคารมา ก็มักจะพบกับสิ่งเหล่านี้…
- โปรโมชั่น A 2 ปีแรก MRR – 3% ปีที่ 3 MRR – 2.5% หลังจากนั้นลอยตัวที่ MRR – 1% 🤔
- โปรโมชั่น B ปีแรก 0.75% ปีที่สอง MRR – 2.45% ปีที่สาม MRR – 1% หลังจากนั้นลอยตัวที่ MRR – 0.5% 😧
- โปรโมชั่น C 3 ปีแรกคงที่ 4.5% หลังจากนั้นลอยตัวที่ MRR – 0.5% 😭
หลายคนเลยเกิดอาการ งง ไปตามๆกัน เพราะว่ามันต้องคำนวณเยอะมากๆ และตัวอย่างที่ยกมาเป็นแค่โปรโมชั่นของธนาคารเดียวนะครับ ถ้าอยากคำนวณของธนาคารอื่นด้วยก็ต้องใช้โปรโมชั่น และเปลี่ยนเป็น MRR ของธนาคารนั้นๆด้วย ยิ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกยิ่งคำนวณยากเข้าไปใหญ่
นี่ยังไม่นับว่าต้องคำนวณดอกเบี้ยจากธนาคารเก่าอีกนะครับ ว่าดอกเบี้ยลอยตัวที่เรากำลังผ่อนอยู่นั้นจะต้องเสียดอกเบี้ยอีกเท่าไหร่ คนส่วนมากจึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะรีไฟแนนซ์ไปในที่สุด หรือบางคนก็ถอดใจไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหนก็ได้ ทั้งๆที่ถ้าคำนวณให้ดีจะพบว่าโปรโมชั่น รีไฟแนนซ์บ้านในตลาด ตัวที่ดีที่สุดสามารถประหยัดเงินได้มากกว่าตัวที่แย่ที่สุดเป็นล้านบาทเลยทีเดียว
ผมขอฝากข้อคิดไว้ว่า “อย่าให้คำว่าเสียเวลา ทำให้คุณเสียโอกาส”
วันนี้ ผมเลยจัดทำ Excel คำนวณดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ให้ใช้กันฟรีๆ เลยครับ 🎉
ก่อนอื่น เราดาวน์โหลด Excel กันก่อนเลยครับ คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หากใครที่แก้ไขใน Excel ไม่ได้ รบกวนกดปุ่มดาวน์โหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วค่อยคลิกเข้าไฟล์จากเครื่องเพื่อแก้ไขข้อมูลตัวเลขนะครับ
วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ มีเพียงไม่กี่ขั้นตอนครับ
ส่วนที่ 1 ใส่ยอดหนี้คงเหลือปัจจุบัน
ซึ่งสามารถดูจาก สลิปผ่อนบ้านเดือนล่าสุด หรือสอบถามทางธนาคารก็ได้
ส่วนที่ 2 อัตราดอกเบี้ยหลังครบ 3 ปี ของสินเชื่อเดิม อันนี้ถ้าผ่อนมาเกิน 3 ปีแล้ว ดูจากใบเสร็จได้เลยครับว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ (ถ้าในสลิปไม่ได้บอก หรือคนที่ยังไม่ครบ 3 ปี ดูจากสัญญากู้ก็ได้ครับ)
ส่วนที่ 3 อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1,2,3,หลังจากนั้น ของธนาคารที่เราสนใจจะไปรีไฟแนนซ์ ซึ่งสามารถใส่ได้สูงสุด 3 ธนาคาร
หากใครยังงงๆ ให้ดูภาพประกอบได้เลยครับ 👇
