ผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต จ่ายบัตรเครดิตช้า ต้องเจอกับอะไรบ้าง
สมัครรีไฟแนนซ์บัตร ผ่าน Refinn
สมัครฟรี ไม่มีค่าบริการ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติง่าย
ผิดนัดชำระ

ผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต จ่ายบัตรเครดิตล่าช้า ต้องเจอกับอะไรบ้าง

มีคนเคยพูดไว้ว่า “หนี้สิ้นไม่เคยลดตามรายได้” เพราะว่าความแน่นอนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแน่นอนทางด้านการเงิน ใครจะคิดว่าอยู่ดีๆ รายได้ที่เคยมีจะลดลง ทั้งจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด หรือจากสาเหตุอะไรก็ตาม แต่รายจ่ายเจ้ากรรมที่เคยดันไม่ลดลงตามไปด้วย ซ้ำร้ายแค่รายได้เท่าเดิมที่มีอยู่ก็ยังต้องผ่อนหนี้พวกนี้แบบเลือดตาแทบกระเด็นอยู่แล้ว พอเจออุบัติเหตุทางการเงินแบบนี้ใครหลายๆ คนก็คงตั้งตัวไม่ติดเป็นแน่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์เงินเดือนและพนักงานออฟฟิศทั้งหลายที่มักจะมีบัตรเครดิตกันอยู่คนละ 2 - 3 ใบเป็นอย่างน้อย และใช้บัตรเหล่านี้รูดกันจนเคยชิน ซึ่งหากเราอยู่ในสถานการณ์ปกติก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่สถานการณ์แบบนี้ก็อาจทำให้เราต้อง ‘ผิดนัดชำระหนี้’ หรือ "จ่ายบัตรเครดิตล่าช้า" ขึ้นมา ใครที่กำลังอยู่ในเหตุการณ์แบบนี้ หรือกำลังจะเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ดังกล่าว แล้วยังไม่รู้ว่าต้องเจอกับอะไรต่อไปบ้าง และจะมีทางออกอย่างไรกับปัญหานี้กันครับ

สิ่งที่ต้องเจอ เมื่อผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต

สิ่งที่ต้องเจอเมื่อผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต

มาถึงเนื้อสำคัญในส่วนแรกกันแล้วนะครับกับสิ่งที่คนเป็นหนีบัตรเครดิตต้องรู้นั่นก็คือ สิ่งที่ต้องเจอถ้าเราผิดชำระหนี้บัตรเครดิต เพื่อให้เราได้รู้และหาวิธีในการแก้ไขกันครับ ว่าแล้วจะมีอะไรบ้างนั้นมาอ่านไปพร้อมๆกันเลย

1. ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิม

ประการแรกเลย สิ่งที่เราต้องเจอในกรณีผิดนัดชำระหนี้คือ ค่าใช้จ่ายหรือภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งมันเพิ่มมากจาก 2 อย่างด้วยกัน คือ 

ค่าติดตามทวงถาม

สำหรับใครที่เคยชำระหนีบัตรเครดิตล่าช้าก็คงจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ถูกโทรทวงถาม และก็แน่นอนว่าทางสถาบันทางการเงินคงไม่ได้ใจดีโทรมาทวงเราฟรี ๆ สิ่งเหล่านี้ย่อมมีค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็มีชื่อว่า ‘ค่าติดตามทวงถามหนี้’ ที่จะถูกคิดและถูกทบไปในรอบบิลถัดไป โดยแต่ละธนาคารก็จะมีอัตราค่าติดตามทวงถามที่แตกต่างกันไป แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นยอดเงินแค่หลักร้อย แต่ถ้าถูกทบไปเรื่อยๆ มันก็คงจะไม่ใช่จำนวนเงินน้อยเช่นกันครับ

ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ

ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ คือ ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายเพิ่ม จากอัตราดอกเบี้ยเดิมในกรณีที่เราผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต ซึ่งถือว่าเป็นค่าปรับสำหรับการชำระหนี้ก้อนดังกล่าวล่าช้าเกินระยะเวลาที่กำหนด โดยหากเรายังไม่ทำการชำระหนี้สักที ดอกเบี้ยก้อนดังกล่าวก็จะถูกทบไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ได้ในที่สุดครับ

2. ติดแน่ๆ เครดิตบูโร

จากขั้นแรกที่เราโดนในเรื่องของ “ค่าติดตามทวงถามหนี้” แต่หากเรายังคงไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ โดยปกติแล้วธนาคาร สถานบันการเงิน ส่วนใหญ่จะมีการรายงานข้อมูลการชำระหนี้ของคุณไปยัง บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันในนาม เครดิตบูโร แน่นอนว่าประวัติที่คุณจ่ายล่าช้า หรือค้างชำระหนี้ก็จะถูกส่งไปยัง บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติเช่นกันครับ 

หากถามว่าการมีประวัติแบบนี้จะส่งผลอย่างไร คำตอบคือทุกครั้งที่คุณจะไปทำธุรกรรมการเงิน เช่น กู้เงิน กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ รีไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์รถ ฯลฯ ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่อยู่ในระบบก็จะมีการขอเช็คข้อมูลตรงนี้กับคุณครับ แน่นนอนว่าหากคุณมีประวัติการชำระช้าก็คงไม่มีใครอยากให้เรากู้ใช่ไหมครับ และที่น่ากลัวกว่านั้นคือ หากเรามีการค้างชำระนานกว่า 90 วัน หรือ 3 งวดแล้วล่ะก็ คุณจะถูกมองว่าเป็นคนที่เครดิตเสียครับ หรือที่เราชินหูกับคำว่า ติดเครดิดบูโร แล้วหลังจากนี้การทำธุรกรรมทางการเงินของคุณก็จะเป็นเรื่องที่อยากมาก ๆ แล้วครับ แล้วกว่าสถานะคุณจะมาเป็นปกติได้ก็ต้องรอถึง 3 ปีเลยครับ

3. ถ้าหนี้ยังไม่จ่าย หมายศาลมาแทน

ถ้าคุณคิดว่าการติดเครดิตบูโรจะเป็นเรื่องที่ร้ายแรงแล้ว คำตอบคือยังไม่ใช่ครับเพราะหากแม้ว่าคุณจะเสียประวัติทางการเงินไปแล้ว แต่หนี้ที่คุณมีคุณยังคงไม่สามารถหาเงินมาใช้คือได้และยังคงค้างชำระอยู่สถานบันทางการเงินเจ้าของบัตรเครดิตที่คุณเอาเงินเข้าไปใช้ก็จะทำการฟ้องร้องเพื่อให้ชำระหนี้คืน ซึ่งในสถานการณ์นี้ ผลที่ตามมาที่หนักที่สุดที่เราจะต้องเจอก็คือการถูกตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย แม้กรณีแบบนี้จะเป็นคดีแพ่งที่ไม่มีการติดคุกถึงแม้จะแพ้ในคดีความ แต่ความยุ่งยากก็มีไม่ใช่น้อยเลยครับ เพราะการไปศาลแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ อีกมากมายตามมา และสิ่งที่คุณจะต้องเจอคือ

กรณีที่ 1 เรา(ลูกหนี้) แพ้คดี และต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ศาลสั่ง กรณีนี้คือการที่เรายังมีทางในการหาเงินมาชำระหนี้ก้อนนั้นๆ ได้อยู่ แต่ทำการตกลงว่าจะทำการชำระคืนอย่างไรกับเจ้าหนี้

กรณีที่ 2 เรา(ลูกหนี้) แพ้คดี และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่เงื่อนไขสั่ง กรณีนี้เจ้าหนี้จะดำเนินการบังคับคดี ยึดทรัพย์ และอายัดเงินเดือน โดยมีอายุความทั้งสิ้น 10 ปี ซึ่ง ในกรณีที่ไม่มีทรัพย์สินให้ยึดทรัพย์จะมีดังนี้

  • เงินเดือน สามารถถูกอายัดได้ไม่เกิน 30% 
  • เงินโบนัส สามารถอายัดได้ไม่เกิน 50%
  • เงินตอบแทนการออกจากงาน สามารถอายัดไว้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่บังคับคดี
  • เงินฝากในบัญชี หรือเงินปันผลจากการลงทุน สามารถอายัดให้ตามที่ขอ โดยหากเจ้าหนี้ไม่ได้ระบุให้อายัดเฉพาะปีใดปีหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเป็นประจำทุกปีจนกว่าจะพ้นหนี้ 
  • ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน สามารถให้อายัดให้ตามที่ขอ โดยระบุให้บุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัดส่งเงินเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาสิ้นสมาชิกภาพ

สมมุติว่าเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับเจ้าของบัตรเครดิต ใครต้องใช้หนี้แทน

สงสัยกันไหมครับว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับผู้ถือบัตรเครดิต เช่น เสียชีวิต ใครจะต้องใช้หนี้บัตรเครดิตแทน มาครับเดี๋ยวผมจะบอกให้ ซึ่งผมจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีให้เข้าใจแบบง่าย ๆ

กรณีที่ 1 : กรณีของสามีภรรยา หรือ คู่สมรสในกรณีนี้หากหนีบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากการสมรส จะถือว่าเป็นหนี้สินในส่วนสมรส และจะนับว่าเป็นหนี้ที่ร่วมกันใช้ ดังนั้นหากคู่สมรสจะต้องใช้หนี้นี้แทนหากคนใดคนหนึ่งเกิดเสียชีวิตก่อน

กรณีที่ 2 : กรณีที่เจ้าของบัตรเครดิตเป็นบิดา หรือ มารดา ในกรณีนี้หากบิดาและมารดาเสียชีวิตทั้งหมด ผู้ต้องต้องใช้หนี้แทนจะเป็นทายาทผู้สืบทอดมรดกครับ แต่ทั้งนี้ทายาทไม่ต้องใช้หนี้ทั้งหมดนะครับแต่จะใช้แค่ในจำนวนที่เท่ากับมรดกที่ได้รับมา ยกตัวอย่างมีหนี้บัตรเครดิต 500,000 บาทแต่ทายาทได้มรดกมาแค่ 200,0000 บาท ดังนั้นทายาทจะใช้หนี้เพียงแค่ 200,000 บาทเท่านั้นส่วนหนี้อีก 300,000 บาทไม่จำเป็นต้องจ่ายครับ

หนี้บัตรเครดิตจัดการอย่างไรก่อนที่จะสายเกินไป

หากใครที่เริ่มมีปัญหาทางการเงินเริ่มผ่อนไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ หนีบัตรเครดิต หรือแม้แต่สินเชื่อส่วนบุคคล คุณห้ามหายตัวครับ หากมีธนาคารโทรติดตามทวงถามหนี้เข้ามาให้พยายามรับทุกสายและเล่าถึงสถานการณ์ที่เราเป็นอยู่ให้เขาฟังครับ ไม่มีธนาคารไหนอยากมาฟ้องลูกหนี้หรอกครับ มันจะมีทางออกที่ดีกว่านั้น คือ

วิธีจัดการหนี้บัตรเครดิตก่อนที่จะสายเกินไป

1. การประนอมหนี้

หากรู้ตัวว่าเริ่มผ่อนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายให้กับบัตรเครดิตไม่ไหว ทางแรกเลยที่สามารถทำได้คือการประนอมหนี้ ซึ่งก็คือการที่เจ้าหนี้ (สถาบันทางการเงินเจ้าของบัตรเครดิต) อาจจะยืดเวลาชำระหนี้ให้ยาวขึ้นเพื่อให้ยอดผ่อนของแต่ละเดือนลดลง หรือเป็นการลดดอกเบี้ยให้เพื่อให้เหมาะกับสภาพทางการเงินของเราในปัจจุบันของเรา คุณผ่อนชำระไหวเท่าไรก็แจ้งเขาไปเลยครับครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะได้ทางออกแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของธนาคารครับ

2. การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต (รวมหนี้บัตรเครดิต)

การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตก็คล้าย ๆ กับการรีไฟแนนซ์บ้าน ก็คือการขอสินเชื่อกับทางสถาบันทางการเงินแห่งใหม่ที่มีข้อเสนอที่ดีกว่าให้กับคุณ เช่น ลดยอดผ่อนแต่ละเดือน หรือมีดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เราผ่อนจ่ายอยู่ และนำเงินในส่วนนั้นมาชำระหนีบัตรเครดิตที่เรามีอยู่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ของเราใหม่ ทำให้ให้เราสามารถรวมหนี้บัตรเครดิตที่มีอยู่หลายก้อน ให้เป็นก้อนเดียวได้ เปลี่ยนจากการจ่ายขั้นต่ำแต่ละใบเป็นจ่ายแบบมีระยะเวลา ยอดผ่อนแต่ละเดือนก็จะเบาลงครับ

โดยในปัจจุบันก็มีเครื่องมือที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในส่วนนี้ ทำให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับการหาข้อเสนอจากธนาคารต่าง ๆ หรือเดินเข้าไปติดต่อธนาคารเอง โดยสามารถสมัครใช้บริการได้ผ่าน refinn ฟรี ที่ Refinn/รีไฟแนนซ์บัตรเครดิ เราจะมีทีมงานคอยให้คำแนะนำ ช่วยติดตามเรื่องให้ ช่วยให้คุณสะดวกและประหยัดเวลาครับ



อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงจะเห็นกันแล้วว่าการผิดนัดชำระหนีบัตรเครดิตต้องเจอกับอะไรบ้าง และมีราคาที่ต้องจ่ายเพิ่มมาอีกเท่าไร โดยราคาเหล่านี้บางทีอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบของตัวเงิน แต่เป็นด้านสถานภาพทางการเงิน หรือเครดิตของเรา ซึ่งกว่าจะฟื้นฟูกลับมาได้ก็ต้องใช้เวลาหลายปีเลยทีเดียว และในช่วงเวลาที่คุณเสียเครดิต หากคุณจะทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ก็จะมีความยากลำบากมาก ดั้งนั้นในเรื่องของประวัติเครดิต ผมอยากให้ทุกคนรักษาไว้ให้เป็นอย่างดีครับ หากเริ่มว่ามีปัญหาเราควรรีบหาทางแก้ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย แต่หากมีปัญหาแล้วไม่รู้จะหาทางออกอย่งไร ก็สามารถลองทักเข้ามาปรึกษากับทาง Refinn ได้เช่นกันครับ เรายินดีให้คำแนะนำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต จ่ายบัตรเครดิตช้า

หลายคนเมื่อถึงที่เวลาชำระค่าบัตรเครดิตแต่อาจจะไม่มีเวลา หรือ ติดธุรด่วนแบบกระทันหัน แต่ไม่ก็อยากเสียประวัติทางการเงิน หรือ ติดเครดิตบูโร จึงอาจจะเกิดคำถามหรือข้อสงสัยว่า บัตรเครดิตสามารถจ่ายช้าสุดได้กี่วัน เราเลยจะมาอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจ ถึงคำถามต่างๆที่พบบ่อยๆเมื่อต้องผิดนัดชะระหนี้บัตรเครดิต มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยครับ

บัตรเครดิตจ่ายช้าได้กี่วัน จ่ายช้ากี่วัน ติดบูโร

สำหรับการจ่ายค่าบัตรเครดิตจะล่าช้าได้ไม่เกิน 90 วันครับ หากจ่ายหลังจาก 90 วันไปแล้วจะกลายเป็นหนี้เสียหรือติดเครดิตบูโรทันที โดยที่ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินของบัตรนั้นๆจะขึ้นสถานะไว้ในบัตรแบบอัตโนมัติ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมจะเป้นยังไงเราจะไปอธิบายให้ฟังต่อในคำถามต่อไปกัน

จ่ายบัตรเครดิตช้า 1 วัน จะติดบูโรไหม

จากที่ได้บอกไปว่าการที่บัตรเครดิตจะติดเครดิตบูโรได้นั้นจะต้องจ่ายค่าบัตรเครดิตล่าช้าเกิน 90 วันเท่านั้น เพราะฉนั้นการจ่ายค่าบัตรเครดิตช้าไปแค่ 1 วันจะไม่ทำให้เสียเครดิตหรือติดเครดิตบูโรอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นกังวลใดๆทั้งสิ้นครับ

จ่ายบัตรเครดิตช้า 1 เดือน จะเป็นอย่างไร

ส่วนการจ่ายค่าบัตรเครดิตล่าช้าเกิน 1 เดือน ถึงแม้ว่าจะไม่ติดเครดิตบูโรก็จริง แต่ก็จะต้องถูกขึ้นสถานะว่าเป็นการจ่ายล่าช้า ซึ่งจะส่งผลทำให้ประวัติการเงินไม่ดี ดังนั้นถ้าเลี่ยงได้ การจ่ายค่าบัตรเครดิตให้ตรงตามเวลานั้นย่อมดีกว่าเสมอ

สมมุติได้เงินโบนัสมา 1 ก้อนแล้วมีหนี้รถ กับ หนี้บัตรเครดิตควรเลือกปิดหนี้อะไรก่อนดี

ข้อนี้เสริมให้ก่อนจบบทความนะครับ มีหลายคนสอบถามเข้ามากันบ่อยมากว่าถ้าได้โปนัสมาเนี่ยแล้วมีหนี้รถกับหนี้บัตรเครดิต จะเลือกปิดหนี้อะไรก่อนดี

ผมแนะนำให้เอาเงินไปปิดหนี้บัตรเครดิตก่อนครับเพราะหนีบัตรเครดิตเป็นหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยรถดังนั้นถ้าได้เงินก้อนมาอนะนำให้เป็นหนีบัตรเครดิตก่อนเลยครับแล้วพอเรามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นก็สามารถนำเงินที่ไม่ได้ผ่อนบัตรเครดิตแล้วไปต่อยอดเพื่อหาเงินมาโปะหนี้รถได้ครับ

สรุปเรื่องการผิดชำระหนี้บัตรเครดิต

หลายคนที่อ่านบทความจบแล้วก็คงได้ทราบกันแล้วนะครับว่าถ้าผิดชำระหนีบัตรเครดิตจะต้องเจอกับอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นแล้วทางที่ดีก็อย่าคิดที่จะผิดชำระหนี้จะดีกว่านะครับ ซึ่งถ้าครั้งยังไหวตัวทัน หรือตระหนักถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองแล้วเนี่ย ก็อย่าลืมรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตกันนะครับ

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ เพจ Facebook : Refinn หรือ Line id : @Refinn

เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม